Canister Filter (canister (แคนอิซเทอะ) n. กระป๋อง, กล่องบรรจุอาหาร)
เป็นกรองแบบที่ตัวระบบอยู่ด้านนอกตู้ มีแค่ท่อน้ำเข้า-น้ำออก ที่แหย่เข้ามาในตู้ ทำให้ไม่เสียพื้นที่ตู้ ดูสวยงาม ภายในถังกรองจะแบ่งเป็นชั้นๆสามารถใส่วัสดุกรอง (Media) ได้หลายแบบ การไหลเวียนของกระแสน้ำจะมีสองแบบ คือแบบไหลจากด้านล่างขึ้นมาด้านบน (ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้) กับแบบไหลจากด้านบนลงด้านล่าง การเรียงถาดวัสดุกรองจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (จากด้านบนลงด้านล่าง) นึกภาพว่าเส้นที่คั่นๆนี่เป็นถาดในถังกรองนะครับ ช่วยผมจินตนาการหน่อยนะ....หา!! อะไรนะ...ไม่จินฯเหรอ..ฮึ๊ยยย..เด๋วสอยเลย.... ฝาถังกรอง วัสดุกรองเคมี จำพวกเรซิ่นเพื่อปรับสภาพน้ำให้อ่อน หรือคาร์บอนกัมมันต์ เพื่อดูดซับสารพิษ เอาไว้หลังสุด จะได้ใช้ได้นานๆ ไม่โดนของเสียอุดตันเสียก่อน ใยกรองละเอียด หรือที่บางร้านเรียกว่าใยแก้ว เพื่อกรองของเสียชิ้นเล็กๆ ฝุ่นผงต่างๆ เป็นส่วนที่ต้องเอาออกมาล้างบ่อยๆ ประมาณเดือนละครั้ง แล้วแต่ปริมาณของเสีย ล้างแล้วก็เอามาใส่ใหม่ได้ แต่ยิ่งนานไป มันจะค่อยๆฟีบลงๆ ไม่ฟูเหมือนใหม่ๆ บางทีก้เป็นรูโหว่ อันนั้นเปลี่ยนได้แล้วนะครับ ซื้อแบบม้วนๆมาตัดเองห่อละ 30 เอง ห่อขนาดประมาณ 1 คนโอบ ใช้กันข้ามปี บางคนใช้แล้วใช้อีกจนฟีบเป็นไข่เจียวค้างปียังไม่ยอมทิ้ง บางคนก็ใช้ครั้งเดียวทิ้ง อันนี้ก็แล้วแต่แนวของแต่ละทั่นเถิดขอรับ ของผมเดินสายกลางเริ่มฟีบแล้วค่อยทิ้ง ใยกรองหยาบ หน้าตาคล้ายๆสก็อตไบรท์ล้างจาน หรือเป็นฟองน้ำสีดำ การใส่จะเอาใยหยาบไว้ก่อนใยละเอียดเพื่อให้กรองของเสียชิ้นใหญ่ก่อน ใยละเอียดจะได้ไม่ตันเร็ว แต่ไม่ใส่ก็ได้ ตำรวจไม่จับ วัสดุกรองชีวภาพ ส่วนนี้แหละส่วนสำคัญ และควรมีพื้นที่ให้มากที่สุด เพราะเอาไว้ให้จุลินทรีย์เกาะ ทีนี้จุลินทรีย์มันเกาะตามพื้นผิวใช่มะ ฉะนั้นวัสดุที่ดีคือต้องมีพื้นที่ผิวเยอะๆ อย่างพวกหินพัมมิส มันจะมีรูพรุนอยู่ในเนื้อวัสดุ ถ้าเอามาส่องขยายจะเห็นเป็นซอกหลืบมากมายยังกะคอนโด low cost เราก็จะสามารถเอาเมียเก็บไปแอบไว้ได้หลายคน เอ้ย..จุลินทรีย์ก็จะมีที่ให้อยู่เยอะ แล้วก็ขอย้ำไว้อีกที ใช้เศษปะการังในตู้ไม้น้ำไม่ได้นะครับ มันจะทำให้น้ำกระด้าง ต้นไม้ไม่ชอบเด้อ ก็เลยมักจะใส่หินพัมมิสกันเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็วัสดุกรองสำเร็จรูปยี่ห้อต่างๆ อย่างของ Eheim Azoo เพราะอะไรดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ > วัสดุกรองชีวภาพ วัสดุกรองส่วนที่ช่วยกระจายกระแสน้ำให้ทั่วถึง เพื่อไม่ให้เกิดมุมอับที่ไม่มีกระแสน้ำไหลไป หรือมี แต่น้อย จุลินทรีย์ส่วนนั้นก็จะไม่ค่อยได้อาหารและออกซิเจน ของเสียที่ไหลไปติดตรงนั้นก็จะไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เกิดการเน่าเสีย และเป็นจุดเพาะเชื้อก่อโรคต่างๆได้ ไอ้วัสดุที่ว่าก็จะเป็นจำพวกเซรามิกริง ทั้งแบบพรุนไม่พรุน ถ้าแบบไม่มีรูพรุนเอาไว้กระจายกระแสน้ำเฉยๆ ถ้าแบบมีรูพรุนก็จะใช้เป็นที่อยู่ของแบคทีเรียด้วยในตัว ดูรายละเอียดได้ที่เดิมครับ > วัสดุกรองชีวภาพ พอน้ำไหลไปเจอท่อสั้นๆพวกนี้ ที่มันหันไปทงโน้นทางนี้ น้ำก็จะไหลกระจายไปทางโน้นทางนี้เหมือนกัน ก็จะกระจายได้ทั่วกรอง แค่นั้นแหละครับ ไม่มีอะไรซับซ้อน ลองเอาใส่ถาดกรองแล้วตักน้ำราดดูก็เห็นเองครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น