การดูแลรักษาตู้ไม้น้ำระยะยาว หล่อเลือกได้ว่ะ
1.การวางเลย์เอ้า ควรวางแผนก่อนตั้งตู้ ศึกษาหาข้อมูลพันธุ์ไม้ที่จะเลี้ยง หาทำเลที่เหมาะสม ลมผ่านสะดวก ขาตั้งตู้ ต้องมั่นคง วางตู้ต้องแนบระนาบ
2. คุณภาพน้ำ น้ำที่แนะนำคือ ประปาที่พักแล้วอย่างน้อย 30 นาที เปลี่ยนน้ำอาทิตย์ละ ครั้งเป็นอย่างน้อย 20-25 เปอร์เซนต์
3. กรอง หมั่นล้างทุก1-2 เดือน ด้วยน้ำที่อยู่ในตู้
4. ต้นไม้ตาย เหี่ยว ต้องมาดูที่สาเหตุครับ ส่วนมากมาจาก แสงไม่พอ ปุ๋ยไม่ได้ฝัง Co2 ไม่เพียงพอ ค่าน้ำที่ไม่เหมาะสม
5. ตะไคร่ถามหา แนะนำครับ สัตว์กินตะไคร่ พวก ออตโต้ (40-50B)หรือ กุ้งยามาโตะ(40B)ครับ แต่ต้องดูพวกไม้น้ำด้วยนะครับ ว่ารับสัตว์พวกไหนได้บ้าง อย่างเช่น ถ้าคุณเลี้ยงต้นไม้ที่บอบบางอย่าง น้ำตาเทียนผมไม่แนะนำออตโต้ มันดูดซะใบช้ำเลยทำให้ต้นไม้ไม่สวย ส่วนยามาโตะก็ต้องระวังการขุดคุ้ยของเค้านะครับ โดยเฉพาะหวีดจิ๋วหรือต้นไม้ที่รากยังไม่เดิน
6. ฝ้าผิวน้ำ เกิดจากสารอาหารส่วนเกิน ง่ายๆก็คือ ลดอาหาร ลดปุ๋ย เติมแบคทีเรียน้ำ
7.พานาเรียตัวดูด สำหรับเจ้านี่ ผมแนะนำ งดอาหาร แล้ว เปลี่ยนน้ำบ่อยๆ
8. ขัดตู้กระจก (ตะไคร่จุด) แนะนำครับเวลาขัด ให้ขัดแนวดิ่งครับ น้ำจะได้ไม่กระฉอก ตู้จะไม่โครงเครงมาก ถูขึ้นถูลง ตู้ผม 36 ใช้แปลงเล็กสุด เพราะแรงน้ำ จะได้ไม่ทำให้ Layout เสีย แต่ขยัน ขัดหน่อย
9. หมั่น ตัดต้นไม้ (หลังจาก 3 เดือน) ฉับๆ โดยตัดครั้งแรก 1/2 นับจาก ยอดแล้วปักใหม่ ส่วนพวกหญ้าหรือไม้หน้าตู้ ตัดจากยอด 1/3 พวกแฮร์กลาส อยากให้เดินไวๆ ให้ตัดส่วนไหลของมัน
10. คาร์บอนสำคัญไฉน มันเป็นส่วนประกอบทางเคมีที่พืชนำไปใช้ในการสังเคราะห์แสง สำหรับผมแล้ว ผมเปิดไฟ แรงๆ ไว้ก่อน แล้วค่อยดูปัจจัยอื่น พอตะไคร่มาก้อลงสัตว์ อย่าเยอะ ตู้ 36 ผมใช้ออตโต้ 3 ตัว ไม่อยากบอกว่าเหลือเฟือ ยามาโตะอีก 2 ตัว ตะไคร่ไม่มีเลย จบแล้วครับสำหรับบทความสั้นๆของผม หากว่าบทความซ้ำของใครต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วยครับ สำหรับบทความนี้ผมเขียนเพื่อทดสอบความรู้และประสบการณ์ของตัวผมเองครับในการดูแลไม้น้ำครับ ไม่รู้ว่า ขาดตกบกพร่องตรงไหนหรือเปล่ายังไง ช่วยเสริมกันด้วยนะครับ ขอบคุณครับผม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น